วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นวัตกรรมไม่มีไม่ได้ (Innovation Is Mandatory)

สรุปการบรรยาย ของ อ.ประสิทธิ์ ตันสุวรรณ หัวข้อ Innovation is Mandatory งาน TQA Seminar 2011, Innovation: Key to Sustainability and Growth 23-24 มิถุนายน 2554 โรงแรมโกลเด้นท์ ทิวลิป ซอฟเฟอริน จัดโดยสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

อาจารย์ ประสิทธ์ ตันสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการองค์กร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)และอดีตผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ นอกจาdนี้ยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้าน HRM และ Quaity of Management และวิทยากรบรรยาย และเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานชั้นนำต่างๆ

I. โหมโรง (Introduction)1. ผลกาศึกษาของ Oded Shenkar (Professor มหาวิทยาลัย Ohio State University’s Fisher College of Business ), Defend Your Research: Imitation Is More Valuable Than Innovation, Harvard Business Review เดือน April 2010
พบว่า ผู้เลียนแบบนั้นเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ 97.8% จากนวัตกรรม เช่น บริษัท VISA, Mcdonald, Walmart ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมแต่ดำเนินธุรกิจที่ลอกเลียนแบบโดยต่อยอดให้ดีขึ้นกว่าเดิม
อ้างอิง: http://hbr.org/2010/04/defend-your-research-imitation-is-more-valuable-than-innovation/ar/1
2. นวัตกรรมระดับประเทศ—จากข้อมูล World Economic Forum พบว่าความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ที่ลำดับที่ 38 และมีนวัตกรรมที่ลำดับที่ 52 ซึ่งอยู่ในลำดับที่ไม่สู้ดีนักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย
3. ระดับการพัฒนาเริ่มจาก ระดับต้น Factor Driven ระดับกลาง Efficiency Driven ระดับสูง Innovation Driven ประเทศไทยอยู่ที่ระดับกลาง คือมุ่งเน้นเรื่องประสิทธิภาพ
4. ห้าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจในประเทศต่างๆ: 1)ความไม่มั่นคงของประเทศ 2)ความไม่นิ่งของรัฐบาล 3)รัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ 4)คอร์รัปชั่น 5)การศึกษา
5. Kano house มีองค์ประกอบ ๅ1)มุ่งเน้นคุณภาพเน้นความพึงพอใจลูกค้า 2) เป้าหมายและกลยุทธ์ต้องม่งไปสู่คุณภาพ 3) สามเสาหลัก (คือ (a) แนวคิด/ปรัชญา/หลักการ (b)กระบวนการ (Process) (c)เทคนิค (เช่น TQM, Lean) 4)แรงจูงใจ 5) ความสามารถที่เป็นเนื้อในหรือความสามารถพิเศษ (Intensive Technique)

II Innovation ระดับองค์กร---
1. บริษัทที่เป็นบริษัทชั้นนำนั้นมีนวัตกรรมสูง เช่น Facebook, Huawei, Cisco
2. ผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่องนวัตกรรม—CEO, president, Chairman, COO, VP of R&D
3. บัญญัติ 10 ประการของผู้นำ: 1) อย่าผลักดัน TQA ถ้า CEO และ #2 ไม่เอาจริง 2) อย่าเอา TQA มาใช้ถ้า CEO ไม่มีภาวะผู้นำ 3) ไม่เพียงพอถ้าเป่าประกาศว่าจะ ใช้ TQA 4) ผู้บริหารระดับสูงต้องออกอาการอยากทำ TQA 5) EO ต้องมีความเชื่อว่า TQA สามารถทำผลประกอบการดีขึ้นได้ 6) ผู้นำต้องมีความคลั่ง TQA 7) อย่าทำ TQA ถ้าผู้นำไม่สามารถจัดการกับลูกน้องที่ไม่ทำตาม 8) อย่าทำ TQA ถ้าหวังผลระยะสั้น 9) อย่าทำ TQA ถ้าไม่เปิดใจ 10) อย่าเปลี่ยน CEO ภายใน 3 ปี เพราะ TQA ยังไม่ฝังตัว (กาวยังไม่ติด)
4. ประเภทของนวัตกรรม: ระดับ 1. ลดต้นทุนสินค้าเก่า ระดับ 2. ปรับปรุงสินค้าเดิมให้ดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ระดับ 3. เสนอสินค้าใหม่สำหรับลูกค้าเก่า ระดับ 4. สินค้าใหม่สำหรับลูกค้ากลุ่มใหม่ ระดับ 5. นวัตกรรมระดับโลก
บริษัทมากกว่า กว่า 80% อยู่ที่ระดับ 1-3 ตัวอย่าง โครงการข้าวเหนียวช่วยชาติ อยู่ระดับ 3-4 โครงการสะดวกบุญเป็นนวัตกรรมระดับโลก

III วิวัฒนาการ นวัตกรรม ในบริบทของเกณฑ์ TQA
1. 1991เน้นคุณภาพสินค้า คุณภาพงาน คุณภาพคน
• หมวด 7 ผลลัพธ์ เน้นคุณภาพ (คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ) ความพอใจของลูกค้า
• ค่านิยมหลักและแนวคิด--เน้น คุณภาพ ภาวะผู้นำ ปรับปรุงต่อเนื่อง ตอบสนองเร็ว การทำงานที่เน้นข้อมูลจริง การมีส่วนร่วมของพนักงาน
2. 2011 เน้นทุกปัจจัยเป็นต่อความยั่งยืนขององค์กร
• หมวด 7 เน้นทั้งสินค้าและกระบวนการ เน้น ผลลัพธ์มุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ที่มุ่งเน้นพนักงาน ผลลัพธ์ภาวะผู้นำและการกำกับดูแลที่ดี ผลลัพธ์ทางการตลาดและการเงิน
3. ค่านิยมหลักและแนวคิด 11 ข้อ: การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า การเรียนรู้ระดับองค์กรและระดับบุคคล การให้ความสำคัญกับบุคลากรและพันธมิตร (partner) ความคล่องตัว การมุ่งเน้นอนาคต การจัดการเพื่อนวัตกรรม การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง ความรับผิดชอบต่อสังคม การมุ่งเน้นที่เน้นผลลัพธ์ และการสร้างคุณค่า มุงมองในเชิงระบบ
4. วิธีการสร้างนวัตกรรม จากมาตรฐาน ปรับปรุงที่ละเล็กและน้อย สิ่งใหม่ (Innovation)
5. นวัตกรรมจะไปได้สวย ถ้าองค์กรมี ความสามารถพิเศษ ขาดเสียซึ่งความสามารถพิเศษ มีโอกาสูงที่องค์กรเราอาจเป็นบริษัทโหล แม้เราจะทำงานอย่างเป็นระบบได้แล้วแล้วก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น